เมนู

การแสวงหาอามิสถึงที่สุด ท่านเรียกว่า อามิสปริเยฏฐิ การ
แสวงหาธรรมถึงที่สุด ท่านเรียกว่า ธรรมปริเยฏฐิ.
จบอรรถกถาสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 6



ในสูตรที่ 6 (ข้อ 401) การบูชาอามิส ชื่อว่า อามิสบูชา
การบูชาด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมบูชา.
จบอรรถกถาสูตรที่ 6

อรรถกถาสูตรที่ 7



ในสูตรที่ 7 (ข้อ 402) บทว่า อติเถยฺยานิ ได้แก่ ทาน
เพื่อผู้จรมา (ของรับแขก) ปาฐะว่า อภิเถยฺยานิ ดังนี้ก็มี.
จบอรรถกถาสูตรที่ 7

อรรถกถาสูตรที่ 8



ในสูตรที่ 8 (ข้อ 403 ) อามิสอิทธิ ชื่อว่า อามิสอิทธิ
ให้สำเร็จเสร็จสรรพ แม้ธรรมก็ชื่อว่า ธรรมอิทธิ เพราะให้สำเร็จ
เสร็จสรรพ.
จบอรรถกถาสูตรที่ 8

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 (ข้อ 404) ความเจริญด้วยอามิส ชื่อว่า อามิสวุฒิ

ความเจริญด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมวุฒิ.
จบอรรถกถาสูตรที่ 9

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 (ข้อ 405) อามิสที่ทำให้เกิดความยินดี ชื่อว่า
อามิสรัตนะ ธรรม ชื่อว่า ธรรมรัตนะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ 10

อรรถกถาสูตรที่ 11



ในสูตรที่ 11 (ข้อ 406) การสะสมเพิ่มพูนอามิส ชื่อว่า
อามิสสันนิจยะ การสะสมเพิ่มพูนธรรม ชื่อว่า ธรรมสันนิจยะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ 11

อรรถกถาสูตรที่ 12



ในสูตรที่ 12 (ข้อ 407) ความไพบูลย์แห่งอามิส ชื่อว่า
อามิสเวปุลละ ความไพบูลย์แห่งธรรม ชื่อว่า ธรรมเวปุลละ แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ 12
จบสันถารวรรคที่ 4